การผสมสารสี
สารสีมีคุณสมบัติในการดูดกลืนแสงสีเมื่อมีแสงขาวมากระทบ
แล้วจะสะท้อนแสงสีที่เหลือมาเข้าตา เราจึงมองเห็นเป็นสีที่สะท้อนมาเข้าตา การที่เราเข้าใจการผสมสารสี
จะทำให้เราเข้าใจการดูดกลืนและการสะท้อนแสงสีของวัตถุ
รูปเเสดงการผสมสารสี
สารสีที่ไม่อาจจะสร้างขึ้นมาได้จากการผสมสารสีต่างๆได้
เรียกว่า สารสีปฐมภูมิ (primary colour) เมื่อมี
แสงขาวตกกระทบสารสีแดงม่วง จะดูดกลืนแสงสีอื่นๆไว้ แต่ไม่ดูดกลื่นแสงสีแดงม่วง ,น้ำเงิน , แดงจึงสะท้อน 3 สีนี้ออกมา
เมื่อแสงขาวตกกระทบสารสีเหลือง จะดูดกลืนแสงสีอื่นๆไว้ แต่ไม่ดูดกลืนแสงสีเหลือง , แดง , เขียว เมื่อแสงขาวตกกระทบสารสีน้ำเงินเขียว
จะดูดกลืนแสงสีอื่นๆไว้ แต่ไม่ดูดกลืนแสงสีน้ำเงินเขียว , เขียว , น้ำเงิน
ถ้านำสารสีปฐมภูมิทั้ง 3 ผสมกันในปริมาณเท่ากัน จะได้สารสีดำซึ่งจะดูดกลืนทุกแสงสี ไม่สะท้อนแสงสีใดเลย
เรียกสารสีที่ได้จากการผสมสารสีปฐมภูมิ 2 สี
ว่าสารสีทุติยภูมิ ได้แก่ สีเขียว , สีแดง
, สีน้ำเงิน ตามรูป
การผสมแสงสี
แสงสีแดง , แสงสีเขียว , แสงสีน้ำเงิน
เรียกว่า แสงสีปฐมภูมิ (primary colour light) เมื่อฉายแสงสีปฐมภูมิทั้ง 3 แสงสี ลงบนฉากสีขาว จะได้ผลของการผสมเป็น
“แสงขาว” เมื่อนำแสงสีปฐมภูมิมาผสมกันบนฉนกขาวที่ละคู่
ก็จะได้ผลของการผสมแสงสีตามรูป เช่น แสงสีแดง ผสมกับแสงสีเขียว จะได้แสงสีเหลือง
ซึ่งเรียกผลที่ได้นี้ว่า “แสงสีทุติยภูมิ” ถ้าใช้ความเข้มของแสงสีนำมาผสมต่างๆกันไป แสงสีผสมที่เกิดขึ้นก็จะเกิดแสงสีที่มีความเข้มหลายระดับ
รูปเเสดงการผสมเเสงสี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น