สายตาปกติ
ตาคนปกติถ้ามองดูวัตถุที่ระยะอนันต์
ภาพจริงของวัตถุจะเกิดที่จุดโฟกัสของเลนส์ตาซึ่งอยู่บนเรตินาพอดี โดย
ระยะใกล้สุดของวัตถุที่ตาคนปกติมองเห็นได้ชัดเจนเรียกว่า
ระยะใกล้ตาหรือจุดใกล้สุด(Near Point) โดยระยะใกล้ตาของคนที่มีสายตาปกติ
คือ ประมาณ 25 เซนติเมตร และ
ระยะไกลสุดที่ตาคนปกติมองเห็นได้ชัดเจนเรียกว่าระยะไกลตาหรือจุดไกลสุด(Far
Point) โดยระยะไกลตาของคนที่มีสายตาปกติ คือ ระยะอนันต์
สายตาสั้น
(Myopia)
คนที่มีสายตาสั้นมองเห็นวัตถุได้ชัด ระยะใกล้ตาที่ระยะไม่ถึง 25 เซนติเมตร
ระยะไกลตา ไม่เห็นถึงระยะอนันต์
อาจแก้ไขได้โดยใช้เลนส์เว้าช่วยให้แสงไปตกที่เรตินาพอดี
จะทำให้จุดไกลเห็นที่ระยะอนันต์ได้
วิธีแก้ไขปัญหาสายตาสั้น
ภาพบน เเสดงความผิดปกติของคนสายตาสั้น
ภาพล่าง เเสดงการเเก้ไขสายตาสั้นโดยใช้เลนส์เว้า
ใช้แว่นตาที่ทำจากเลนส์เว้า ช่วยให้แสงกระจายกว้างมากขึ้นก่อน ทำให้เลนส์ตารวมแสงตกไกลมากขึ้นและไปตกที่เรตินาได้พอดี ความยาวโฟกัสของเลนส์เว้าสำหรับสายตาสั้น f = ระยะชัดไกลที่สุดขณะยังไม่สวมแว่น เช่น
เด็กคนหนึ่งปกติมองชัดได้ไกลที่สุดไม่เกิน 120 เซนติเมตร
จะต้องสวมแว่นที่ทำจากเลนส์เว้าที่มีความยาวโฟกัสเท่ากับ – 120 เซนติเมตร (ติดลบเพราะเป็นโฟกัสของเลนส์เว้า)
สายตายาว (Hyperpia)
สายตายาว (Hyperpia)
คนที่มีสายตายาว มองเห็นวัตถุได้ชัดระยะใกล้ตามีระยะเกินกว่า
25 เซนติเมตร และระยะไกลตามองได้ไกลถึงระยะอนันต์
อาจแก้ไขโดยใช้เลนส์นูนช่วยให้แสงไปตกที่เรตินาพอดี
มีผลให้มองเห็นวัตถุจุดใกล้ได้ชัดที่ระยะ 25 cm จักษุแพทย์บอกขนาดของแว่นตาเป็นกำลังไดออปเตอร์ (diopter
power) หรือเรียกว่ากำลังของเลนส์ โดยกำลังของเลนส์ คำนวณได้ดังนี้
โดย P
แทนกำลังของเลนส์ มีหน่วยไดออพเตอร์
f
แทนความยาวโฟกัส คิดในหน่วยเมตร
วิธีแก้ไขปัญหาสายตายาว ใช้แว่นตาที่ทำจากเลนส์นูน
ช่วยให้แสงรวมแคบลงก่อน ทำให้เลนส์ตารวมแสงตกใกล้เข้ามาและไปตกที่เรตินาได้พอดี
ดีครับอธิบายสั้น ๆ
ตอบลบ